บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสื่อสังคมออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงมีบทบาทสำคัญสำคัญในด้านสื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ โปสเตอร์ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้ผลิตหรือผู้ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ จำเป็นต้องทราบถึงหลักการ วิธีการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เทคนิคการผลิตสื่อ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ให้มีความน่าสนใจ พัฒนาไปสู่สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เผยแพร่ได้หลากหลายช่องทาง นอกเหนือจากผลิตเป็นสิ่งพิมพ์แล้วยังสามารถนำไปใช้สร้างเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการผสมผสานสร้าง Interactive การใส่เสียง วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ในรูปแบบ e-Book, ePub และอื่นๆ

         ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เห็นความสำคัญในการผลิตสิ่งพิมพ์ดิจิทัลดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล” เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานออกแบบสิ่งพิมพ์ในสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อ อาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจในงานด้านดังกล่าว ได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ ขั้นตอนการออกแบบงานสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ การเตรียมข้อมูลการเตรียมภาพ และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ในยุคปัจจุบัน การใช้งานโปรแกรม Adobe InDesign CC ฝึกอบรมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ iMac Pro

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทักษะในการปฏิบัติงานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ePub การใช้โปรแกรม Adobe InDesign CC
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และหน่วยงาน

กลุ่มเป้าหมาย
          ผู้ปฏิบัติงานออกแบบสิ่งพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อ อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจงานด้านการออกแบบสิ่งพิมพ์ จำนวนรุ่นละ 13 คน

หัวข้อการฝึกอบรม
         1. ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ประเภทของสื่อ หลักการออกแบบ การใช้สี ข้อควรพิจารณาสำหรับการออกแบบสื่อประเภทต่างๆ
         2. การเตรียมข้อมูลสำหรับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล การเตรียมเนื้อหา การเตรียมภาพประกอบ การจัดการ แก้ไขภาพ โปรแกรม Adobe Photoshop
         3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรม Adobe InDesign
         4. การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ แผ่นปลิว แบนเนอร์
         5. การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือ การตรวจสอบไฟล์งานด้วย Preflight การทำ Package การแปลงไฟล์เป็น PDF
         6. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล Digital Publication (ePub) และ DPS (Adobe Digital Publishing Suite) การสร้าง Interactive การใส่เสียง วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว การ Export ไฟล์ ePub 0 แบบ Interactive

ระยะการฝึกอบรม
       1. จัดฝึกอบรม วันที่ 17-19 มิถุนายน พ.ศ. 2567 
       2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 3 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
       3. จัดฝึกอบรม 1 รุ่น ต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
        การบรรยาย และฝึกปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน พร้อม Workshop ทำงานออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล

 

วิธีการประเมินผล
     ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจด้านการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล
      2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการปฏิบัติงานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ePub ได้
      3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และหน่วยงาน

         การพิมพ์งานระบบออฟเซตนั้นการควบคุมสีหมึกพิมพ์ให้ถูกต้องและตรงตามตามต้องการนับเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมคุณภาพการพิมพ์ โดยตัวแปรที่มีผลต่อความถูกต้องของสีหมึกพิมพ์มีตั้งแต่ประเภท ชนิดของหมึก ชนิดของกระดาษหรือวัสดุใช้พิมพ์ ชนิดของเครื่องพิมพ์และตัวแปรอื่นๆ ในกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์

         ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้การเทียบสีและผสมสีหมึกพิมพ์มีความถูกต้องแม่นยำโดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ เครื่องทดสอบการพิมพ์หมึก หมึกพิมพ์และกระดาษพิมพ์มาตรฐาน เครื่องวัดค่าสี โปรแกรมเทียบสีหมึกและฐานข้อมุลการผสมสีหมึกพิมพ์ ซึ่งรวมกันเป็นระบบการเทียบสีหมึกพิมพ์ โดยโรงงานหมึกพิมพ์และโรงพิมพ์ขนาดใหญ่หลายแห่งมีการประยุกต์ใช้ระบบดังกล่าวอย่างได้ผล

ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความพร้อมด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายใน และภายนอก จึงได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเทียบสี และการหาสูตรผสมสีหมึกพิมพ์” เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในปฏิบัติงานด้านการเทียบสี การผสมสีหมึกพิมพ์ สมบัติของหมึกพิมพ์ ทฤษฎีสี การหาสูตรผสมสี เทคนิคการผสมสีหมึกพิมพ์ให้ถูกต้องตามตัวอย่าง การใช้เครื่องมือวัดสี การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผสมสี แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้การทำงานพิมพ์ให้ได้คุณภาพ

 

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการเทียบสี และผสมสีหมึกพิมพ์
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการเทียบสี และผสมสีหมึกพิมพ์ ได้ถูกต้องตามมาตรฐาน
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน

กลุ่มเป้าหมาย
         ช่างผสมสีหมึกพิมพ์ในโรงพิมพ์ ผู้ควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ หัวหน้าช่างพิมพ์ ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งพิมพ์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวนรุ่นละ 13 คน

 

หัวข้อการฝึกอบรม
         1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสีและการวัดสี ความเข้าใจเกี่ยวกับสี ทฤษฎีสี ฮาล์ฟโทนสกรีน เครื่องมือวัดสี Spectrophotometer การวัดค่าสี ขอบเขตความคลาดเคลื่อนสี ความสามารถในการแยกแยะสีและการเปรียบเทียบความต่างสีของผู้ปฏิบัติงาน
         2. สมบัติของหมึกพิมพ์ที่มีผลต่อสีและการพิมพ์ สมบัติของหมึกพิมพ์ ความทึบความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ องค์ประกอบพื้นฐานในการพิมพ์ออฟเซต
         3. เทคนิคการผสมสีหมึกพิมพ์ให้ถูกต้อง การผสมสีตามตัวอย่าง การปรู๊ฟสี ตรวจสอบความถูกต้องสีหมึกพิมพ์ เปรียบเทียบความต่างสี การหาสูตรผสมสี การปรับแก้ไขสี สาธิต ฝึกปฏิบัติการผสมสี และตรวจสอบ
         4. การพยากรณ์สี และการทำฐานข้อมูลสีในหมึกพิมพ์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผสมสี การทำฐานข้อมูลสี การหาสูตรผสมสีหมึกพิมพ์จากฐานข้อมูล การปรับแก้ไขสี

ระยะเวลาการฝึกอบรม
        1. จัดฝึกอบรม วันที่ 14 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
        2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 2 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
        3. จัดฝึกอบรม 1 รุ่น ต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
        การบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย สาธิต และฝึกปฏิบัติ

 

วิธีการประเมินผล
         ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      1. ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการเทียบสี และผสมสีหมึกพิมพ์
      2. ผู้รับการฝึกอบรมมีทักษะการเทียบสี และผสมสีหมึกพิมพ์ ได้ถูกต้องตามมาตรฐาน
      3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน

         การพิมพ์ออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์หนึ่งที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมการพิมพ์ แต่ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมการพิมพ์กับต้องประสบกับภาวะการขาดแคลนบุคลากรทางการพิมพ์ โดยเฉพาะช่างพิมพ์ออฟเซตที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานพิมพ์ออฟเซต

         ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางการพิมพ์ให้ก้าวสู่การเป็นช่างพิมพ์ได้อย่างมืออาชีพ และเพื่อรองรับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพิมพ์ออฟเซตสมัยใหม่  จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ทักษะการพิมพ์ออฟเซต”เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติงานพิมพ์ออฟเซต การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ที่ถูกต้อง พร้อมในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพิมพ์ออฟเซต การปฏิบัติงานพิมพ์ การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ การแก้ไขปัญหา
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทักษะในการปฏิบัติงานพิมพ์ออฟเซต ปรับตั้ง ตรวจสอบ แก้ไขปัญหางานพิมพ์พื้นฐานได้
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในงาน

 กลุ่มเป้าหมาย
          ผู้ช่วยช่างพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ นิสิตนักศึกษา ผู้สนใจในอาชีพช่างพิมพ์ออฟเซต ผู้จำหน่ายวัสดุพิมพ์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวนรุ่นละ 13 คน

หัวข้อการฝึกอบรม

         1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพิมพ์ออฟเซต หลักการพื้นฐานของการพิมพ์ ลักษณะภาพ และสิ่งพิมพ์ออฟเซต กระบวนการพิมพ์ระบบออฟเซต การทำแม่พิมพ์ออฟเซต เครื่องพิมพ์ออฟเซต ประเภทของเครื่องพิมพ์ออฟเซต โครงสร้างส่วนประกอบ
         2. วัสดุทางการพิมพ์ น้ำยาฟาวน์เทน หมึกพิมพ์ ผ้ายาง
         3. การเตรียมวัสดุพิมพ์ การผสมน้ำยาฟาวน์เทน การเตรียมกระดาษ
         4. การผสมสีหมึกพิมพ์ แม่สีทางการพิมพ์ การหาสูตรผสมสีหมึกพิมพ์
         5. การปรับตั้งส่วนป้อน ส่วนรองรับ เครื่องมือวัดละเอียด เครื่องมือปรับตั้งเครื่องพิมพ์
         6. การปรับตั้งระบบหมึก ระบบความชื้น ระบบหมึก การปรับตั้งลูกกลิ้งหมึก การเตรียมรางหมึก ระบบความชื้น การปรับตั้งลูกกลิ้งความชื้น
         7. การรองหนุน การปรับตั้งหน่วยพิมพ์ การคำนวณค่ารองหนุน การติดตั้งผ้ายาง การติดตั้งแม่พิมพ์ การปรับตั้งแรงกดพิมพ์ การตรวจสอบแรงกดพิมพ์
        8. การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ แถบควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ค่าความดำ (density) ลักษณะและขนาดเม็ดสกรีน การตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ การใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ
        9. การปฏิบัติงานพิมพ์ออฟเซต ขั้นตอนการปฏิบัติงานพิมพ์ การเตรียมวัสดุพิมพ์ การผสมสีหมึกพิมพ์ การตรวจสอบ และปรับตั้งตำแหน่งพิมพ์ ควบคุมสมดุลน้ำกับหมึกพิมพ์
        10. ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์

ระยะเวลาการฝึกอบรม
        1. จัดฝึกอบรมรุ่นที่ 1 วันที่ 20 – 23 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2567 และ รุ่นที่ 2  วันที่ 20 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567  
        2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 4 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
        3. จัดฝึกอบรม 2 รุ่น ต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
         การบรรยาย สาธิตขั้นตอนการทำงาน ฝึกปฏิบัติงานกับเครื่องจักร และวัสดุที่ใช้ในงานพิมพ์ระบบออฟเซต

วิธีการประเมิน
         ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
         1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการพิมพ์ออฟเซต การปฏิบัติงานพิมพ์ การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ การแก้ไขปัญหา
         2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการปฏิบัติงานพิมพ์ออฟเซต ปรับตั้ง ตรวจสอบ แก้ไขปัญหางานพิมพ์พื้นฐานได้
         3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

        การควบคุมคุณภาพในขั้นตอนงานก่อนพิมพ์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อผู้ให้บริการผลิตสิ่งพิมพ์และต่อผู้รับบริการหรือลูกค้า การควบคุมคุณภาพงานก่อนพิมพ์จะช่วยลดความสูญเสีย เนื่องจากสามารถตรวจสอบพบเห็นข้อผิดพลาดของการทำงานก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ โรงพิมพ์หรือลูกค้าอาจคิดว่าขั้นตอนการออกแบบจัดทำอาร์ตเวิร์กสิ่งพิมพ์เป็นเรื่องง่าย เพราะมีเครื่องมือ อุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย แต่หากผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจพื้นฐาน ข้อควรพิจารณา ข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับงานพิมพ์ งานนั้นก็จะส่งผลเสียต่อมายังงานขั้นตอนต่อไปได้ ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบไฟล์งาน (PDF) สำหรับงานพิมพ์ เช่น ภาพความละเอียดต่ำ ฟอนต์ไม่ฝังทำให้ฟอนต์ไม่ตรงกับงานที่ออกแบบ กำหนดสีไม่ถูกต้อง สีพิเศษหรือสีผสม Process ข้อมูลขนาดตัดเจียน หรือตัดตกไม่ถูกต้อง ไฟล์ต้นทางมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เช่น การใช้เส้นที่มีขนาดเล็กเกินไป (hairline) การกำหนดชื่อสีพิเศษไม่ถูกต้อง มีการบีบอัดข้อมูลไฟล์มากจนเกินไป ขนาดหน้างานไม่ถูกต้อง การไล่เฉดสี (transparency) การจัดการสี ICC profile ไม่เหมาะสมหรือไม่มีการใช้ เป็นต้น ในส่วนของโรงพิมพ์ผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องรู้ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพงานในแต่ละขั้นตอนการผลิต ต้องมีขั้นตอนการปรับตั้ง (calibrate) อุปกรณ์ เครื่องมือ คอมพิวเตอร์ อยู่เป็นประจำ เพื่อให้งานการจัดการสี การทำปรู๊ฟดิจิทัล การทำแม่พิมพ์ออฟเซต CTP มีคุณภาพตามมาตรฐาน

         จากความสำคัญของการการควบคุมคุณภาพงานก่อนพิมพ์ดังกล่าว ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จึงจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม “การควบคุมคุณภาพงานก่อนพิมพ์” เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะในการควบคุมคุณภาพในขั้นตอนงานก่อนพิมพ์ที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน เพื่อให้การผลิตงานพิมพ์มีคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีงานก่อนพิมพ์ ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพในงานก่อนพิมพ์
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทักษะการปฏิบัติควบคุมคุณภาพในกระบวนการงานก่อนพิมพ์
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน

กลุ่มเป้าหมาย
           ผู้ปฏิบัติงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานทำแม่พิมพ์ออฟเซต ผู้ควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งพิมพ์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวนรุ่นละ 13 คน

 

หัวข้อการฝึกอบรม
         1. เทคโนโลยีงานก่อนพิมพ์ ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานก่อนพิมพ์ ความสัมพันธ์ของงานก่อนพิมพ์กับงานในกระบวนการพิมพ์
         2. การตรวจสอบแก้ไขไฟล์งานดิจิทัล PDF Workflow, PDF preflight
         3. การควบคุมคุณภาพในขั้นตอนงานก่อนพิมพ์ เครื่องมือควบคุมคุณภาพในงานก่อนพิมพ์ ระบบการจัดการสี การทำดิจิทัลปรู๊ฟ
         4. การควบคุมคุณภาพการทำแม่พิมพ์ออฟเซตซีทีพี (CTP) การวางรูปแบบงานพิมพ์ แม่พิมพ์ออฟเซตซีทีพี และวัสดุที่เกี่ยวข้อง การหาค่ามาตรฐานการทำแม่พิมพ์ การทำ Linearization

ระยะเวลาในการจัดฝึกอบรม
       1. จัดฝึกอบรมวันที่ 2-3 เมษายน พ.ศ. 2567
       2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 2 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
       3. จัดฝึกอบรม 2 รุ่น ต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
       การบรรยาย สาธิต และฝึกปฏิบัติการด้วยเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุทางการพิมพ์ในขั้นตอนการทำงานก่อนพิมพ์

 

วิธีการประเมินผล
        ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
       1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีงานก่อนพิมพ์ ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพในงานก่อนพิมพ์
       2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการปฏิบัติควบคุมคุณภาพในกระบวนการงานก่อนพิมพ์
       3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน นำความรู้ ทักษะไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน

         การทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ เป็นขั้นตอนที่ปรับแต่งแปรสภาพสิ่งพิมพ์ให้มีความสวยงาม แข็งแรงทนทาน และมีประโยชน์ใช้สอยได้ตามที่ต้องการ นับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่างานก่อนพิมพ์และงานพิมพ์ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสร้างรูปแบบสิ่งพิมพ์ให้มีลักษณะพิเศษต่างๆ มากมาย เพื่อให้สิ่งพิมพ์มีความแปลกใหม่แตกต่างจากรูปแบบสิ่งพิมพ์เดิม ทั้งในด้านการเลือกใช้วัสดุ การใช้เทคนิคใหม่ๆ ใช้เป็นจุดโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการให้เป็นที่น่าสนใจต่อกลุ่มผู้บริโภค ตัวอย่างการทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ เช่น การทำเล่มหนังสือปกแข็ง ทำเล่มวิทยานิพนธ์ ทำปกแฟ้ม ปกใส่ปริญญาบัตร เป็นต้น

         ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เล็งเห็นความสำคัญทางด้านนี้ จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคนิคการทำเล่มหนังสือปกแข็งและแฟ้ม” เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในด้านการทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ การใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการทำเล่ม เทคนิคการทำงานต่างๆ แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานทำเล่มสิ่งพิมพ์ ทำเล่มวิทยานิพนธ์ และผู้สนใจในงานดังกล่าว เพื่อให้พร้อมผลิตงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

 

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ด้านกระบวนการ และเทคโนโลยีการทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการปฏิบัติงานทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ รูปแบบต่างๆ
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในด้านการทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ

กลุ่มเป้าหมาย
           ผู้ปฏิบัติงานหลังพิมพ์ งานทำเล่มสิ่งพิมพ์ งานทำเล่มวิทยานิพนธ์ งานซ่อมแซมหนังสือ ทำเล่มหนังสือทำมือ งานทำปกแฟ้ม และผู้สนใจทั่วไป จำนวนรุ่นละ 12 คน

 

หัวข้อการฝึกอบรม
         1. กระบวนการทำเล่มสิ่งพิมพ์
         2. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานทำเล่ม
         3. เทคนิคการทำสิ่งพิมพ์สำเร็จ
         4. สาธิตขั้นตอน และปฏิบัติงานการทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ
              – การทำเล่มหนังสือปกแข็ง
              – การทำแฟ้มอ่านรายงาน
              – การทำปกใส่ปริญญาบัตร
              – การทำสมุดใส่ภาพ

ระยะเวลาการฝึกอบรม
         1. จัดฝึกอบรมวันที่ 7-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
         2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 2 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
         3. จัดฝึกอบรม 1 รุ่น ต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
         การบรรยาย สาธิต และฝึกปฏิบัติกับเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในการทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ

 

วิธีการประเมินผล
        ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
       1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ด้านกระบวนการ และเทคโนโลยีการทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ
       2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะทักษะการปฏิบัติงานทำเล่มสิ่งพิมพ์สำเร็จ รูปแบบต่างๆ
       3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานได้

         การพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์ให้มีก้าวหน้าสามารถแข่งขันได้ จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพมาตรฐานทางการพิมพ์ของโรงพิมพ์ ซึ่งหมายถึงการพัฒนาบุคลากรในโรงพิมพ์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดในงานพิมพ์ และแนวทางการแก้ไขปัญหางานได้ เพื่อให้งานที่ผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จึงได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ออฟเซต 4 สี” ขึ้น โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะการปฏิบัติงาน ควบคุมคุณภาพ วิเคราะห์แก้ไขปัญหางานพิมพ์ที่ผลิตในหน่วยงานของตนอย่างมีหลักการ ผลิตงานพิมพ์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อันเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์ของประเทศ

 

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบได้รับความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการพิมพ์ และวิเคราะห์คุณภาพการพิมพ์
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานพิมพ์ออฟเซต การใช้เครื่องมือตรวจสอบควบคุมคุณภาพการพิมพ์
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

กลุ่มเป้าหมาย
          ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการผลิตงานพิมพ์ ช่างพิมพ์ ผู้ควบคุมคุณภาพงาน หัวหน้างาน อาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จำนวนรุ่นละ 13 คน

 

หัวข้อการฝึกอบรม
         1. ความสัมพันธ์ของวัสดุทางการพิมพ์ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ กระดาษ หมึกพิมพ์ น้ำยาฟาวน์เทน
         2. การควบคุมคุณภาพงานก่อนพิมพ์ การตรวจสอบ แก้ไขไฟล์งาน การวางรูปแบบงานพิมพ์ ระบบการจัดการสี การทำปรู๊ฟดิจิทัล การทำแม่พิมพ์ออฟเซต CTP
         3. การวิเคราะห์คุณภาพแม่พิมพ์ออฟเซต และปรู๊ฟดิจิทัล เครื่องมือตรวจสอบควบคุมคุณภาพงานทำแม่พิมพ์ CTP แถบควบคุมคุณภาพ
         4. การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ แถบควบคุมคุณภาพ แนวทางในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ มาตรฐานงานพิมพ์
         5. การปรับตั้งและดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ องค์ประกอบของเครื่องพิมพ์ที่มีผลต่อคุณภาพงานพิมพ์
         6. การปฏิบัติงานพิมพ์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพ แบบทดสอบพิมพ์ (Test form) ขั้นตอนการปฏิบัติงานพิมพ์
         7. การวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ออฟเซต 4 สี การใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ตรวจวัดค่าต่างๆ ค่าความดำ วัดค่าสี พื้นที่เม็ดสกรีน การจับหมึกพิมพ์ … การวิเคราะห์ปัญหางานที่จากวัสดุทางการพิมพ์ การวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์ที่เกิดจากเครื่องพิมพ์
         8. ปัญหาทางการพิมพ์และแนวทางการแก้ไข สรุปปัญหาที่เกิดจากวัสดุทางการพิมพ์ ปัญหาที่เกิดจากเครื่องพิมพ์ การปรับตั้งเครื่อง ปัญหาอื่นๆ

ระยะเวลาการฝึกอบรม
         1. จัดฝึกอบรม รุ่นที่ 1 วันที่ 23 – 25 เมษายน พ.ศ. 2567 และ รุ่นที่ 2 วันที่ 2 – 4 กันยายน  พ.ศ. 2567
         2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 3 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
         3. จัดฝึกอบรม 2 รุ่น ต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
         การบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย สาธิต และฝึกปฏิบัติด้วยเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุทางการพิมพ์

 

วิธีการประเมินผล
         ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการพิมพ์ และวิเคราะห์คุณภาพการพิมพ์
        2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการปฏิบัติงานพิมพ์ออฟเซต การใช้เครื่องมือตรวจสอบควบคุมคุณภาพการพิมพ์
        3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานได้

           สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน แม้ว่าปัจจุบันเป็นยุคข่าวสารข้อมูลจะมีสื่ออื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาททดแทน แต่สิ่งพิมพ์ก็ยังคงมีบทบาท และความสำคัญไม่น้อยลง โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ประเภทบรรจุภัณฑ์ สินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคยังมีความจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อการบรรจุ ป้องกันความเสียหาย การพิมพ์บรรจุภัณฑ์จะช่วยแสดงตัวตน แสดงรายละเอียดของสินค้า ช่วยประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย สร้างความน่าเชื่อถือ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มีราคา ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไป (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร) แม้จะได้รับผลกระทบจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ปริมาณงานลดลง แต่ก็ยังมีงานมีความจำเป็นใช้งานอยู่ เพราะจุดเด่นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกในการใช้งาน การใช้อ้างอิง และใช้เป็นหลักฐานในกิจกรรมต่างๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตสิ่งพิมพ์มีการพัฒนาไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด จากยุคฟิล์มไปสู่ยุคดิจิทัล อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตถูกพัฒนาให้ทำงานง่ายขึ้น ขั้นตอนการทำงานมีความสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งมีเทคนิควิธีการทำงานใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้ผลิต เพื่อเพิ่มความสวยงาม เพิ่มลูกเล่นประโยชน์ใช้สอย สร้างความแตกต่างหรือป้องกันการปลอมแปลง

        ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและความพร้อมที่จะให้บริการฝึกอบรม เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตสิ่งพิมพ์” เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีการผลิตสิ่งพิมพ์ แก่บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งพิมพ์ บุคคลผู้สนใจทั่วไป ตลอดจนนิสิตนักศึกษาที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านการผลิตสิ่งพิมพ์

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ และการผลิตสิ่งพิมพ์
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทักษะทางด้านขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ ทั้งในกระบวนการงานเตรียมพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์ในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสิ่งพิมพ์

กลุ่มเป้าหมาย
          ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งพิมพ์ ผู้สนใจทั่วไป นิสิตนักศึกษา จำนวนรุ่นละ 13 คน

หัวข้อการฝึกอบรม
         1. เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่
         2. กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
         3. หลักการประเมินราคางานพิมพ์
         4. ฝึกปฏิบัติกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
              – งานก่อนพิมพ์ การออกแบบจัดทำอาร์ตเวิร์ก
              – PDF workflow
              – การวางรูปแบบงานพิมพ์ และการทำแม่พิมพ์
              – การพิมพ์ออฟเซต การพิมพ์ดิจิทัล
              – การทำสิ่งพิมพ์สำเร็จ

 ระยะเวลาการฝึกอบรม
        1. จัดฝึกอบรมวันที่ 8 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
        2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 3 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
        3. จัดฝึกอบรม 1 รุ่น ต่อปี                                   

 วิธีการฝึกอบรม
          การบรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์

วิธีการประเมินผล
         ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ และการผลิตสิ่งพิมพ์
        2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะทางด้านขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ ทั้งในกระบวนการงานเตรียมพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์

          ในการดำเนินธุรกิจการพิมพ์ให้ประสบความสำเร็จและสามารถแข่งขันได้ นอกเหนือจากความรู้และความเข้าใจในกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์แล้ว
ผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจในการคิดคำนวณต้นทุนการผลิตสิ่งพิมพ์ได้อย่างถูกต้องด้วย ซึ่งการประเมินต้นทุนการผลิตอย่างมีหลักเกณฑ์ถูกต้องจะช่วยให้สามารถกำหนดราคาจ้างพิมพ์ที่สามารถทำกำไรให้แก่ธุรกิจ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกลยุทธ์ในการกำหนดราคาจำหน่ายสิ่งพิมพ์และจุดคุ้มทุนของการผลิตสิ่งพิมพ์นั้นๆ ได้

         ปัจจุบันธุรกิจการพิมพ์มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่ และขั้นตอนการทำงาน การพิมพ์ระบบดิจิทัลถูกพัฒนาเข้ามาเสริมในงานผลิตสิ่งพิมพ์ทั่วไป และสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ธุรกิจผลิตสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากงานที่ลดลงต้องปรับเปลี่ยนมาทำธุรกิจสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์เพื่อความอยู่รอด ผู้ประกอบการธุรกิจการพิมพ์ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในด้านนี้จึงต้องการความรู้ และความเข้าใจในเรื่องการทำงานใหม่ๆ การคิดต้นทุนทางการพิมพ์ การประเมินราคาสิ่งพิมพ์ และกำหนดราคาจำหน่ายสิ่งพิมพ์ เพื่อให้สามารถแข่งขัน ดำเนินการธุรกิจการพิมพ์ให้ประสบความสำเร็จและอยู่รอดได้ ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว
จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การประเมินราคาสิ่งพิมพ์” ขึ้น

วัตถุประสงค์   
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการประเมินราคาสิ่งพิมพ์ ต้นทุนทางการพิมพ์
         2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทักษะในเรื่องการประเมินราคาสิ่งพิมพ์ ต้นทุนทางการพิมพ์
         3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการประเมินราคาสิ่งพิมพ์

กลุ่มเป้าหมาย
         ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งพิมพ์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวนรุ่นละ 12 คน

หัวข้อการฝึกอบรม
          1. ประเภทสิ่งพิมพ์และกระบวนการผลิต ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสิ่งพิมพ์ งานก่อนพิมพ์ พิมพ์ และหลังการพิมพ์
        2. ปัจจัยในการประเมินราคาสิ่งพิมพ์ หลักการคิดราคาสิ่งพิมพ์ ต้นทุนทางการพิมพ์ การคำนวณกระดาษและเผื่อเสีย
        3. การประเมินราคาสิ่งพิมพ์ทั่วไป หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์
        4. การประเมินราคางานพิมพ์ดิจิทัล
         5. การประเมินราคาสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์กระดาษ ฉลาก กล่อง บรรจุภัณฑ์พลาสติก
        6. ระบบสารสนเทศสำหรับการประเมินราคาสิ่งพิมพ์

 ระยะเวลาการฝึกอบรม
          1. จัดฝึกอบรมวันที่ 17 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2567
        2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 3 วัน
        3. จัดฝึกอบรม 1 รุ่นต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
         การบรรยาย การฝึกปฏิบัติประเมินราคาการผลิตสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ

วิธีการประเมินผล
         ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการประเมินราคาสิ่งพิมพ์ ต้นทุนทางการพิมพ์
ผู้รับการฝึกอบรมทักษะในเรื่องการประเมินราคาสิ่งพิมพ์ ต้นทุนทางการพิมพ์
ผู้รับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ และทักษะประยุกต์ใช้ในการควบคุมต้นทุนการผลิตสิ่งพิมพ์ได้

           ในปัจจุบันยุคที่สังคมโลกต้องมีการแข่งขันกัน มาตรฐานจะเป็นเครื่องมือหนึ่งเพื่อให้เกิดการยอมรับของลูกค้า พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรไปสู่ระบบการผลิตที่เป็นรูปธรรม มีการควบคุมครบวงจร และผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้ถูกต้องมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการสร้างมาตรฐานจะขึ้นอยู่กับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่ผู้ผลิตกระดาษ หมึกพิมพ์ บริษัทออกแบบ แยกสี ทำแม่พิมพ์ และโรงพิมพ์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กับเป็นสากล เช่น ISO G7 เป็นต้น
         ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มาตรฐานการพิมพ์ในการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ที่เน้นการทำมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการทำงาน รวมไปถึงวัสดุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หมึกพิมพ์ กระดาษพิมพ์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้ที่ได้พัฒนาคุณภาพงานพิมพ์ให้ได้มาตรฐาน สร้างโครงสร้างอุตสาหกรรมการพิมพ์ให้มีระบบมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อเพิ่มความรู้ในมาตรฐานการพิมพ์
         2. เพื่อเพิ่มความรู้ และพัฒนาทักษะในการควบคุมคุณภาพโดยนำมาตรฐานการพิมพ์มากำหนดงานพิมพ์
         3. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในมาตรฐานการพิมพ์

กลุ่มเป้าหมาย
          เจ้าของ  ผู้บริหารโรงพิมพ์  ช่างพิมพ์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป  จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม รุ่นละ 13 คน

หัวข้อการฝึกอบรม 
         1. มาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติสู่มาตรฐานงานพิมพ์
         2. สร้างมารตฐานในโรงพิมพ์ (กรณีศึกษา Workshop)
         3. มาตรฐาน ISO 16347-2
         4. มาตรฐาน G7

ระยะเวลาการฝึกอบรม 
         1. จัดฝึกอบรมวันที่ 25 -26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
         2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 2 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
         3. จัดฝึกอบรม 1 รุ่น ต่อปี

วิธีการฝึกอบรม
           การบรรยาย และฝึกปฏิบัติ

วิธีการประเมินผล
          ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรสามารถความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาฝึกอบรม และจะต้องมีเวลาเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร และสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินผลที่หน่วยฝึกอบรมฯ กำหนดขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
         1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ในมาตรฐานการพิมพ์
         2. เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เพิ่มความรู้ และพัฒนาทักษะในการควบคุมคุณภาพ โดยนำมาตรฐานการพิมพ์มากำหนดงานพิมพ์
         3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในในมาตรฐานการพิมพ

           บทบาทของสื่อในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสื่อสังคมออนไลน์ สื่อดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสื่อดิจิทัลต่างๆ มีบทบาทสำคัญในด้านสื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ โปสเตอร์ และมี Application มากมายที่สามารถออกแบบ สร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้อย่างง่าย และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้ผลิตหรือผู้ใช้สื่อดิจิทัล  จำเป็นต้องทราบถึงหลักการ วิธีการผลิตสื่อดิจิทัล เทคนิคการผลิตสื่อ เทคโนโลยีสมัยใหม่ Application ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลให้มีความน่าสนใจ พัฒนาไปสู่สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เผยแพร่ได้หลากหลายช่องทาง สามารถนำไปใช้สร้างเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการผสมผสานสร้าง Interactive การใส่เสียง วีดีโอ และภาพเคลื่อนไหวได้

           ฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เห็นความสำคัญในการออกแบบสื่อดิจิทัลดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลด้วย Application” เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานออกแบบ โรงพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อ อาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจในงานด้านดังกล่าว ได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ ขั้นตอนการออกแบบงานสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ การเตรียมข้อมูลการเตรียมภาพ และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ในยุคปัจจุบัน การใช้งานโปรแกรม Application

วัตถุประสงค์
         1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านการออกแบบสื่อดิจิทัล ด้วย Application
       2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทักษะในการปฏิบัติงานออกแบบสื่อดิจิทัล การใช้โปรแกรม Application
       3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และหน่วยงาน

กลุ่มเป้าหมาย
         ผู้ปฏิบัติงานออกแบบสิ่งพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อ อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจงานด้านการออกแบบสิ่งพิมพ์ จำนวนรุ่นละ 13 คน

หัวข้อการฝึกอบรม
         1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่อดิจิทัล ประเภทของสื่อ หลักการออกแบบ การใช้สี ข้อควรพิจารณาสำหรับการออกแบบสื่อประเภทต่างๆ
       2. การเตรียมข้อมูลสำหรับการออกแบบสื่อดิจิทัล การเตรียมเนื้อหา การเตรียมภาพประกอบ การจัดการ แก้ไขภาพ
       3. Application สำหรับออกแบบสื่อดิจิทัล
        4. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ แผ่นปลิว เอกสารรายงาน
       5. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล E-book E-Pub
       6. การสร้างสื่อเสียง พ็อดคาสท์

ระยะการฝึกอบรม
         1. จัดฝึกอบรมวันที่ 15 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567
       2. ระยะเวลาที่จัดฝึกอบรม 2 วัน ประเภทไม่พักค้างคืน
       3. จัดฝึกอบรม 1 รุ่น ต่อปี

 วิธีการฝึกอบรม
        การบรรยาย และฝึกปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน พร้อม Workshop ทำงานออกแบบสื่อดิจิทัล ด้วย Application

วิธีการประเมินผล
         ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้จะต้องมีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
         1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลด้วย Application
       2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถใช้ Application สำหรับการปฏิบัติงานออกแบบสื่อดิจิทัล
       3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และหน่วยงา